นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
กลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค (“บริษัท”) ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท รวมทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมุ่งมั่นให้บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) กำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและยังทำให้เกิดความโปร่งใสต่อนักลงทุนอันจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยนโยบาย
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทครอบคลุมถึงหลักปฏิบัติที่สำคัญ 8 ประการ ดังนี้
1.1 คณะกรรมการบริษัทเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่ต้องกำกับดูแลให้บริษัทมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึง
1.2 เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทอย่างยั่งยืน คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผล (Governance outcome) อย่างน้อยดังต่อไปนี้
1.3 คณะกรรมการบริษัทดูแลให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง (Duty of care) ซื่อสัตย์สุจริตต่อบริษัท (Duty of loyalty) และดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และ
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
1.4 คณะกรรมการบริษัทเข้าใจขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและกำหนดขอบเขตการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน ตลอดจนติดตามดูแล ให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
2.1 คณะกรรมการบริษัทกำหนดและดูแลให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท (Objectives) เป็นไปเพื่อความยั่งยืน โดยเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าให้แก่บริษัท ลูกค้า
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมโดยรวม
2.1 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้มั่นใจว่า วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ในระยะเวลาปานกลาง และ/หรือประจำปีของบริษัทสอดคล้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท โดยมีการ
นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
3.1 คณะกรรมการบริษัทรับผิดชอบในการกำหนดและทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท ทั้งในเรื่องขนาดองค์ประกอบ สัดส่วนกรรมการที่เป็นอิสระที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการนำพาบริษัทสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่กำหนดไว้
3.2 คณะกรรมการบริษัทเลือกบุคคลที่เหมาะสมเป็นประธานกรรมการบริษัท และดูแลให้มั่นใจว่า องค์ประกอบ และการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทเอื้อต่อการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจอย่างมีอิสระ
3.3 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้การสรรหาและการคัดเลือกกรรมการมีกระบวนการที่โปร่งใสและชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการบริษัทที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับองค์ประกอบที่กำหนดไว้
3.4 ในการเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติ คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้โครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนมีความเหมาะสมกับความรับผิดชอบและจูงใจให้คณะกรรมการบริษัทนำพาบริษัท ให้ดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3.5 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้กรรมการทุกคนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ
3.6 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้มีกรอบและกลไกในการกำกับดูแลนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทย่อยและกิจการอื่นที่บริษัทไปลงทุนอย่างมีนัยสำคัญในระดับที่เหมาะสมกับกิจการแต่ละแห่ง รวมทั้งกำกับดูแลให้บริษัทย่อยและกิจการอื่นที่บริษัทไปลงทุนมีความเข้าใจถูกต้องตรงกันด้วย
3.7 คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปีของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการรายบุคคล โดยผลการประเมินจะถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
3.8 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้กรรมการแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ลักษณะการประกอบธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนให้กรรมการทุกคนได้รับการเสริมสร้างทักษะและความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างสม่ำเสมอ
3.9 คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น และมีเลขานุการบริษัทที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทคณะกรรมการบริษัทจัดให้มีนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์และนโยบายการทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน
4.1 คณะกรรมการบริษัทดำเนินการให้มั่นใจว่ามีการสรรหาและพัฒนาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง ให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนบริษัทไปสู่เป้าหมาย
4.2 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้มีการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนและการประเมินผลที่เหมาะสม
4.3 คณะกรรมการบริษัทมีความเข้าใจโครงสร้างและความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้นที่อาจมีผลกระทบต่อการบริหารและการดำเนินงานของบริษัท
4.4 คณะกรรมการบริษัทติดตามดูแลการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีจำนวน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแรงจูงใจที่เหมาะสม
5.1 คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าแก่บริษัทควบคู่กับการสร้างคุณประโยชน์ต่อผู้บริโภค ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
5.2 คณะกรรมการบริษัทติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสะท้อนอยู่ในแผนการดำเนินการ (Operational plan) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกหน่วยงานของบริษัทได้ดำเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก และแผนกลยุทธ์ (Strategies) ของบริษัท
5.3 คณะกรรมการบริษัทจะติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดสรรและจัดการทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงผลกระทบและการพัฒนาทรัพยากรตลอดสายห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักได้อย่างยั่งยืน
5.4 คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีกรอบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร ที่สอดคล้องกับความต้องการของบริษัท รวมทั้งดูแลให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาการดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักของบริษัท
6.1 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้มั่นใจว่า บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทอย่างมีประสิทธิผล และมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
6.2 คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นอิสระ
6.3 คณะกรรมการบริษัทติดตามดูแลและจัดการความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างบริษัทกับฝ่ายจัดการ คณะกรรมการบริษัท หรือผู้ถือหุ้น รวมไปถึงการป้องกันการใช้ประโยชน์อันมิควรในทรัพย์สิน ข้อมูล และโอกาสของบริษัท และการทำธุรกรรมกับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบริษัทในลักษณะที่ไม่สมควร
6.4 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้มีการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ชัดเจน
และสื่อสารในทุกระดับขององค์กรและต่อบุคคลภายนอก เพื่อให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้จริง
6.5 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้บริษัทมีกลไกในการจัดการเรื่องร้องเรียนและดำเนินการกรณีมีการชี้เบาะแส
7.1 คณะกรรมการบริษัทมีความรับผิดชอบในการดูแลให้มีระบบการจัดทำรายงานทางการเงิน และการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา เป็นไปตามกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
7.2 คณะกรรมการบริษัทติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
7.3 ในภาวะที่บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน หรือมีแนวโน้มจะประสบปัญหา คณะกรรมการบริษัทต้องมั่นใจได้ว่า บริษัทมีแผนในการแก้ไขปัญหา หรือมีกลไกอื่นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเงินได้ ทั้งนี้ ภายใต้การคำนึง
ถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7.4 คณะกรรมการบริษัทพิจารณาจัดทำรายงานความยั่งยืนตามความเหมาะสม
7.5 คณะกรรมการบริษัทกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น เช่น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
เท่าเทียมกัน และทันเวลา
7.6 คณะกรรมการบริษัทส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล
8.1 คณะกรรมการบริษัทดูแลให้มั่นใจว่า ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท
8.2 คณะกรรมการบริษัทดูแลให้การดำเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส
มีประสิทธิภาพ และเอื้อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตน
8.3 คณะกรรมการบริษัทดูแลให้การเปิดเผยมติที่ประชุม และการจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน
จรรยาบรรณธุรกิจ
เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค (“บริษัท”) ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และความซื่อสัตย์สุจริต บริษัทจึงได้กำหนดจรรยาบรรณทางธุรกิจ ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1. การเคารพกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1.1ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และเคารพจารีตประเพณีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
1.2 ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทอย่างเคร่งครัด
2. การปฏิบัติตน
2.1 ยึดมั่นในคุณธรรม ความถูกต้อง และความเที่ยงธรรม ต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีความชอบ หรือผลประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบจากผู้บังคับบัญชาหรือจากบุคคลอื่นใด
2.2 ละเว้นจากอบายมุขและสิ่งเสพติดทั้งปวง ไม่ประพฤติในทางที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียงของตนเองและของบริษัท
2.3 ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำการอันใดที่จะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือชื่อเสียงของตนเองและบริษัท
2.4 หลีกเลี่ยงการนำข้อมูลหรือเรื่องราวของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือเรื่องส่วนตัวไปเปิดเผย หรือ วิพากษ์วิจารณ์
ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคลากรหรือภาพพจน์ของบริษัท
2.5 ร่วมสร้างและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ
3. การปฏิบัติหน้าที่
3.1 ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร ความตั้งใจเอาใจใส่กับงานของบริษัทอย่างเต็มกำลังความสามารถ และมุ่งสู่ความสำเร็จของงานเพื่อประโยชน์ของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมของบริษัท
ที่จะเสริมสร้างคุณภาพ ประสิทธิภาพและพัฒนาบริษัทสู่ความเป็นเลิศ
3.2 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ อีกทั้งมีความสำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อ
ผลของการปฏิบัติหน้าที่
3.3 ใช้เวลาในการปฏิบัติงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลตามที่กำหนด รวมทั้งไม่กระทำหรือชักจูงผู้อื่นให้ใช้เวลาปฏิบัติงานเพื่อกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบริษัท
3.4 พัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม หมั่นฝึกฝนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถ
3.5ร่วมใจกันเสริมสร้าง ปกป้อง และรักษาชื่อเสียงของบริษัท ด้วยการมีทัศนคติและเป็นพนักงานที่ดีของบริษัท แสดงออก
ด้วยความชื่นชมและภูมิใจ รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทต่อสาธารณชน
3.6 พนักงานที่เป็นผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติกับผู้ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมีมนุษยสัมพันธ์อันดี เป็นผู้นำและแบบอย่างที่ดี เอาใจใส่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน สร้างขวัญกำลังใจ และยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องด้วยความยุติธรรม
3.7 พนักงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่แสดงความก้าวร้าว กระด้างกระเดื่อง หรือกระทำตนเป็นปรปักษ์ต่อผู้บังคับบัญชา ให้เกียรติ และรู้จักกาลเทศะ ไม่กระทำการใดอันเป็นการไม่เคารพนับถือผู้บังคับบัญชา รวมถึงต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานราชการและหน่วยงานภายนอกที่มีการติดต่อ
4. การรักษาข้อมูลอันเป็นความลับของบริษัท
4.1 ไม่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเองหรือบุคคลอื่นโดยใช้ข้อมูลของบริษัท พึงใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
4.2 ไม่เปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ยังไม่ควรเปิดเผย เว้นแต่เป็นข้อมูลที่ผู้มีอำนาจอนุมัติให้เปิดเผยได้ หรือเป็นข้อมูลที่เผยแพร่
ต่อสาธารณชนแล้ว
4.3 ไม่เปิดเผยข้อมูลเชิงธุรกิจต่อคู่แข่งขัน แม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท
5. การรักษาทรัพย์สินและข้อมูลของบริษัท
5.1 ใช้ทรัพย์สินของบริษัทอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
5.2 จัดเก็บรักษาข้อมูลและดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัทให้อยู่ในสภาพดี มิให้ชำรุด สูญหาย เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
5.3 ไม่นำทรัพย์สินหรือข้อมูลของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
6. การใช้สิทธิทางสังคมและการเมือง
6.1 ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมให้ใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6.2 ใช้สิทธิและเสรีภาพที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในสังคม โดยหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับกฎหมายหรือศีลธรรม ทำให้สังคมไม่สงบสุข และรักษาไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งตน
6.3 ไม่กระทำการใดๆ อันอาจจะทำให้เข้าใจได้ว่าบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การสนับสนุนพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด
1. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุน
1.1 พัฒนากิจการให้เจริญเติบโตก้าวหน้า มีผลประกอบการที่ดี สร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับการลงทุนของผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
1.2 ดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดด้วยความโปร่งใส ระมัดระวัง รอบคอบ และเป็นธรรม
ต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียม เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นโดยรวม
1.3 นำเสนอรายงานสถานภาพของบริษัท ผลประกอบการฐานะข้อมูลทางการเงิน การบัญชี และรายงานอื่นๆ โดยสม่ำเสมอ ครบถ้วนตามความจริง
1.4แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบถึงแนวโน้มในอนาคตของบริษัท ทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ มีข้อมูลสนับสนุน และมีเหตุผลอย่างเพียงพอ
1.5ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่นโดยใช้ข้อมูลของบริษัทซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน หรือดำเนินการใดในลักษณะ
ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท
2. การปฏิบัติต่อลูกค้า
บริษัทตระหนักถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ จึงได้นำระบบมาตรฐานการจัดการคุณภาพเข้ามาใช้ในบริษัท
โดยกำหนดให้การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเป็นวัตถุประสงค์หลักของบริษัท
3. การปฏิบัติต่อคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้
3.1 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางธุรกิจกับคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้ ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความเกื้อหนุนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย ให้การปฏิบัติต่อคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้อย่างเสมอภาค หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
3.2 ไม่ดำเนินการที่ทุจริตในการค้ากับคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้ กรณีที่มีข้อมูลว่ามีการดำเนินการที่ไม่สุจริตเกิดขึ้นต้องเปิดเผยรายละเอียดต่อคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและยุติธรรม
3.3 ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ต้องแจ้งให้คู่ค้า และ/หรือ เจ้าหนี้ทราบเพื่อหาแนวทางแก้ไข
4. การปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า
4.1ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมและภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย
4.2ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในเชิงลบ
4.3 ไม่ละเมิดความลับ หรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
5. การปฏิบัติต่อพนักงาน
5.1 ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
5.2 จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน
5.3 ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ ให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.4 ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อพนักงาน
5.5 การพิจารณาแต่งตั้งและโยกย้าย กระทำด้วยความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของพนักงาน รวมทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
5.6 ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
5.7 หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงาน คุกคาม หรือ
สร้างความกดดันต่อสภาพจิตใจของพนักงาน
5.8 พนักงานมีสิทธิในการร้องทุกข์ กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามระบบและกระบวนการที่กำหนด
5.9 รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค
6. การปฏิบัติต่อราชการ
บริษัทดำเนินธุรกิจเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ โดยยึดถือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง บริษัทจะสร้างสัมพันธ์อันดีต่อหน่วยราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูล โดยจะปฏิบัติ
อย่างระมัดระวัง รอบคอบ
7. การปฏิบัติต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
7.1 บริษัทดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงคุณภาพ ความมั่นคงของอาชีพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
7.2 บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพยากรธรรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
7.3 ไม่ส่งเสริมกิจกรรมใดๆ ที่เป็นภัยต่อสังคมหรือศีลธรรมอันดีงาม และ/หรือ เป็นการส่งเสริมอบายมุข
7.4 ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม และสร้างจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
7.5 จัดให้มีระบบรายงานข้อร้องเรียนเรื่องที่มีผลกระทบต่อชุมชน และจัดให้มีระบบการจัดการข้อร้องเรียน ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนหรือส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท และแจ้งผลการดำเนินงาน
ให้ผู้ร้องเรียนทราบในเวลาอันควร ส่งเสริมให้บริษัทและชุมชนเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
7.6 ให้การตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการดำเนินงานของบริษัท โดยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7.7 คืนกำไรส่วนหนึ่งเพื่อกิจกรรมที่จะมีส่วนสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อม
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายจรรยาบรรณธุรกิจจะได้รับการทบทวนและประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของนโยบายเป็นประจำทุกปี
นโยบายจรรยาบรรณธุรกิจฉบับนี้ ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
นโยบายการบริหารความเสี่ยง
กลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค
กลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค มีความมุ่งมั่นในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัท รวมถึงการบริหารกลุ่มบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมกับการขยายธุรกิจอย่างมีเสถียรภาพ แต่ในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตนั้น กลุ่มบริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยงตลอดเวลา กลุ่มบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องนำระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากลมาใช้ในการบริหารจัดการกลุ่มบริษัท จึงได้กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงเพื่อใช้เป็นแนวทางและหลักในการปฏิบัติของผู้บริหารและพนักงานทุกคน ไว้ดังนี้
คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนขอยืนยันการส่งเสริมอย่างจริงจัง
ในการจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
นโยบายบริหารความเสี่ยงกลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติคจะได้รับการทบทวนและประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมเป็นประจำทุกปี
นโยบายการบริหารความเสี่ยงกลุ่มบริษัทฉบับนี้ได้รับการอนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2565
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
กลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) มุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสริมสร้างความมั่นใจของผู้ลงทุนและ ผู้ถือหุ้นว่าบริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และมีความตระหนักถึงความสำคัญในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ เพื่อเป็นการสื่อสารต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกด้าน และเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน บริษัทย่อย รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของบริษัท (“บุคคลที่เกี่ยวข้อง”) ไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และโปร่งใส มีจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของบริษัท กฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดเผยต่อสาธารณะด้วยการประกาศไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการปฏิบัติงานที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น และกำหนดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนตรวจสอบภายใน โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีการสอบทานความครบถ้วนเพียงพอของกระบวนการและสอบทานการประเมินความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น มีความเพียงพอและมีประสิทธิผล และมีการรายงานผลการสอบทานต่อคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้กำหนดให้มีการทบทวนแนวทางปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
“การทุจริตคอร์รัปชั่น” หมายความว่า การใช้อำนาจที่ได้มาหรือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบ เพื่อประโยชน์ของบริษัท ตนเอง หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ รูปแบบของการทุจริตคอร์รัปชั่นให้หมายรวมถึง การติดสินบนด้วยการชักชวน การเสนอ การให้หรือการรับสินบนที่เป็นสิ่งของที่มีมูลค่า เงินหรือประโยชน์อื่นใด การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การฉ้อฉล การฟอกเงิน การยักยอก การปกปิดข้อเท็จจริง หรือการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม การค้าภายใต้แรงอิทธิพล ทั้งนี้ การทุจริตมิได้หมายความถึงเพียงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับหน่วยงานของรัฐ เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกิจการในเอกชนด้วยกันเอง
“การติดสินบน” หมายความว่า การเสนอ สัญญาว่าจะให้ หรือการให้ รวมทั้งการเรียกร้อง หรือรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมเพื่อจูงใจให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือผิดจริยธรรม เพื่อให้ได้มา หรือรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทางธุรกิจ หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันผิดกฎหมาย หรือไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ
“สิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ที่ให้แก่กันเพื่ออัธยาศัยไมตรีที่ให้เป็นรางวัล หรือให้เป็นสินน้ำใจ การให้สิทธิพิเศษ ตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือท่องเที่ยว ค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋วหรือหลักฐานอื่นใด
“ค่ารับรอง” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีหรือในบางโอกาสถือเป็นการแสดงออกทางสังคม ซึ่งค่ารับรองหมายรวมถึงค่าที่พัก ค่าโดยสารสำหรับการเยี่ยมชมสถานที่ประกอบการ การศึกษาดูงาน หรือค่าอาหารเครื่องดื่ม
“ค่าเลี้ยงรับรอง” หมายความว่า ค่าอาหารเครื่องดื่ม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและต่อเนื่อง
“ของขวัญ” หมายรวมถึง เงิน สินค้า บริการ บัตรกำนัล เป็นต้น
“การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง” หมายความว่า การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงินหรือมิใช่ตัวเงินแก่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง การสนับสนุนที่มิใช่ตัวเงินจะรวมถึงการให้หรือบริจาคสิ่งของ การให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ การโฆษณาส่งเสริมหรือร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรณรงค์ทางการเมือง รวมทั้งการสละเวลาทำงานของพนักงาน
2.1 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ดังนี้
2.1.1 ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นฉบับนี้ จรรยาบรรณธุรกิจ รวมทั้งกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2.1.2 ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการแสดงถึงเจตนาว่าเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น การให้หรือรับสินบนแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท ในเรื่องที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งทางตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่องค์กร ตนเอง หรือ ผู้เกี่ยวข้อง
2.1.3 ไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตและคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบได้ทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ
2.1.4 มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลและใช้ทรัพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวโยงกัน
2.2 บริษัทจะให้ความคุ้มครองบุคคลที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือแจ้งเบาะแสเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นให้กับบริษัท
2.3 ผู้กระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณจะได้รับการพิจารณาบทลงโทษตามระเบียบของบริษัทที่กำหนดไว้และอาจได้รับโทษตามกฎหมาย
2.4 บริษัทจัดให้มีกระบวนการตรวจสอบและระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ทั้งด้านการเงิน การบัญชี การเก็บบันทึกข้อมูล และอื่นๆ รวมทั้งจัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันมิให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
2.5 บริษัทจัดให้มีกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และให้ความสำคัญกับการเผยแพร่และให้ความรู้บุคคลภายในองค์กรในเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
3.1 หน่วยงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท และการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจดำเนินการ มีความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการตัดสินใจต้องคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพ และบริการที่ได้รับ รวมทั้งคำนึงถึงมาตรฐานต่างๆ ที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการพึงมี เช่น มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นต้น
3.2 หน่วยงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องไม่ประกอบธุรกิจ ซึ่งอาจนำผลประโยชน์มาสู่ตนโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และไม่ใช้ข้อมูลที่ได้ทราบอันเนื่องมาจากการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่น
3.3 ห้ามมิให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทติดสินบน อันเป็นการให้ประโยชน์ในการเสนอราคา หรือการสมยอมกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐและเอกชน อันนำมาซึ่งความได้เปรียบและได้รับผลประโยชน์
ตอบแทนบางประการในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการปฏิบัติงานตามสัญญา ทั้งก่อน ระหว่างการเสนอราคา และหลังการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์อื่นใดอันไม่เหมาะสมตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบซึ่งทำให้เกิดความได้เปรียบหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนในลักษณะเดียวกัน
4.1 บริษัทไม่มีแนวปฏิบัติที่จะให้การช่วยเหลือ การสนับสนุน เป็นตัวแทน ออกเอกสารการขายในนามบริษัท หรือกระทำการใดกับบุคคลใดหรือนิติบุคคลใด เพื่อให้ผู้อื่นสำคัญผิดว่าเป็นธุรกิจปกติของบริษัท
4.2 บริษัทไม่มีแนวปฏิบัติที่จะให้การช่วยเหลือ การสนับสนุน เป็นตัวแทนบุคคลใดในการขายสินค้าหรือกระทำการใดที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบริษัทเป็นผู้กระทำการแทนหรือกลุ่มเดียวกันกับบุคคลดังกล่าว
5.1 บริษัทไม่มีแนวปฏิบัติที่จะจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าส่งเสริมการขายให้แก่บุคคลที่ไม่ใช่คู่ค้าโดยตรง
5.2 หากมีความจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าส่งเสริมการขายใดให้แก่คู่ค้ารายใด บริษัทจะจัดทำสัญญาเพื่อกำหนดกรอบการจ่ายค่าตอบแทนหรือค่าส่งเสริมการขายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยลงนามตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย และลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
6.1 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
6.2 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่กระทำการใด ๆ ที่อาจจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการหรือละเว้นดำเนินการเพื่อประโยชน์ของบริษัท
6.3 การทำความรู้จักหรือการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันตามวาระโอกาส เทศกาล หรือตามประเพณีปฏิบัติ หากอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมสามารถกระทำได้
6.4 การให้การสนับสนุนกิจกรรมของราชการ การบริจาคทรัพย์สิน สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการขออนุมัติที่ถูกต้องโปร่งใส และภายในวงเงินที่เหมาะสม และห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษั ให้ หรือรับ ค่าเลี้ยงรับรอง ไม่เกิน 2,000 บาทต่อคนต่อครั้ง และของขวัญ สิ่งของหรือผลประโยชน์อื่นใด ที่มีราคาเกินกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 3,000 บาท
7.1 ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานให้หรือรับ ค่ารับรองและของขวัญ สิ่งของหรือผลประโยชน์อื่นใดจากผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจ ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่ความร่วมมือ พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียอื่น เว้นแต่ การให้หรือรับดังกล่าวที่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ ตามประเพณี วัฒนธรรม หรือมารยาททางสังคม ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้แต่ต้องสมเหตุสมผล มีความเหมาะสม เป็นไปตามนโยบาย ระเบียบ และธรรมเนียมปฏิบัติตามประเพณีในแต่ละโอกาส
โดยเก็บรักษาหลักฐานการใช้จ่ายเงิน มีการบันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ได้ใช้จ่ายจริง และมีใบเสร็จหรือหลักฐานรับรองเพื่อตรวจสอบได้ในภายหลัง
7.2 ไม่เรียกรับหรือให้ สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด กับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจที่อาจทำให้เกิดอิทธิพลในการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่เป็นธรรม หรือมีเจตนาเพื่อชักนำให้กระทำ หรือละเว้นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หรือเพื่อแลกเปลี่ยน
กับสิทธิพิเศษที่ไม่พึงได้
8.1 ห้ามมิให้มีการรับรองต่อหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละโอกาสมูลค่าเกินตามที่กฎหมายกำหนด และค่าใช้จ่ายดังกล่าวต้องไม่ได้เป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือการตัดสินใจใดๆ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ ต้องมีการบันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ได้ใช้จ่ายจริงและมีใบเสร็จหรือหลักฐานรับรอง
8.2 ค่าใช้จ่ายในการรับรองโดยมารยาททางธุรกิจ ควรถูกใช้อย่างเหมาะสมและเป็นค่าใช้จ่ายตามจริง ทั้งนี้ ให้รายงานและ/หรือดำเนินการขออนุมัติตามตารางอำนาจอนุมัติ (TABLE OF AUTHORITY)
8.3 การเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับการรับรองจะต้องไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายของบุคคลในครอบครัวของพนักงาน
9.1 บริษัทสนับสนุนการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุนในการพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม โดยการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุนต่อองค์กรการกุศลหรือหน่วยงานอื่น ๆ มีขั้นตอนพิจารณาและอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ที่มีอำนาจของบริษัท ซึ่งจะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับบริจาค ผู้รับการสนับสนุน และวัตถุประสงค์ของการบริจาคสนับสนุน พร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัทพิจารณาอนุมัติตามระดับอำนาจอนุมัติของบริษัทโดยมีกระบวนการตรวจสอบ การติดตาม รวมทั้งมีหลักฐานหรือหนังสือตอบรับจากหน่วยงานที่ได้รับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุน เพื่อให้การใช้เงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์
9.2 การเป็นผู้ให้การสนับสนุนเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของบริษัทวิธีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากการบริจาคเพื่อการกุศล โดยอาจกระทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศิลปะ การศึกษา เป็นต้น
9.3 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานและบริษัทย่อย และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาค
เพื่อการกุศลและการเป็นผู้ให้การสนับสนุนจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงในการให้สินบน หรือเป็นการให้ประโยชน์หรือผลตอบแทนแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง รวมถึงการจูงใจให้ปฏิบัติในทางมิชอบ หรือละเว้นการปฏิบัติใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่สอดคล้องกับกรอบจริยธรรมที่ดี และไม่เป็นไปในลักษณะการเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานที่รับบริจาคทำการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท หรือสัญญาหรือเสนอให้ผลตอบแทนทางธุรกิจ หรือผลประโยชน์ส่วนตัวของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ตลอดจนต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
10.1 บริษัทไม่มีแนวปฏิบัติที่จะให้การช่วยเหลือ การสนับสนุน หรือเป็นตัวแทนพรรคการเมือง ในกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ไม่ว่าทางด้านการเงิน หรือรูปแบบอื่นใด รวมถึงไม่กระทำการใดที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าบริษัทเกี่ยวข้องหรือฝักใฝ่
ทางการเมือง หรือพรรคการเมือง หรือผู้ใดที่มีอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
10.2 ในกรณีที่บริษัทมีความประสงค์ที่จะให้การสนับสนุนทางการเมืองเพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย การสนับสนุนดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือกระทำไปด้วยความคาดหวังที่จะได้รับการปฏิบัติตอบแทนเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ในการสนับสนุนจะต้องจัดทำใบบันทึกคำขอ ระบุชื่อผู้รับการสนับสนุนและวัตถุประสงค์ของการสนับสนุน พร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติ
10.3 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท มีสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองตามกฎหมาย แต่ต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่ทำให้บริษัทสูญเสียความเป็นกลางหรือได้รับความเสียหายจากการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมือง
10.4 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท จะไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองภายในบริษัท รวมถึงใช้ทรัพยากรใดๆ ของบริษัท เพื่อดำเนินการดังกล่าว
บริษัทมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์นโยบายฉบับนี้ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานให้ได้ทราบโดยทั่วกันเพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงนโยบายในการติอต้านการทุจริตคอรัปชั่น นอกจากนี้ บริษัทจะประกาศนโยบายนี้บนช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทรวมถึงเปิดเผยในรายงานประจำปี แบบ 56-1 One-report
บริษัทจัดให้มีช่องทางที่ปลอดภัยในการรายงานการฝ่าฝืนหรือการพบเห็นการกระทำทุจริตและคอร์รัปชั่น ดังนี้
โดยกำหนดกระบวนการพิจารณา รวมทั้งจัดให้มีมาตรการคุ้มครองและเยียวยาความเสียหายแก่ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนตามนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่บริษัทกำหนดไว้
ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือกระทำผิดตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามข้อบังคับในการทำงานที่บริษัทกำหนดไว้ และต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายแก่บริษัท หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว และอาจได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจะได้รับการทบทวนและประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของนโยบายเป็นประจำทุกปี
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นฉบับนี้ ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2566 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป
นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
กลุ่มบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามบรรษัทภิบาลที่ดีรวมทั้งต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ นอกจากนี้บริษัทคาดหวังว่า กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจะยึดมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการดังกล่าว ด้วยความมุ่งมั่น บริษัทจึงให้ความสำคัญ
ต่อการรับเรื่องการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส และได้กำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (whistleblowing) ฉบับนี้ขึ้น เพื่อสนับสนุนและเป็นช่องทางให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ สามารถแสดงความเห็นและแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนด้วยเจตนาที่สุจริต หากพบเห็นการกระทำหรือสงสัยว่ามีการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือนโยบาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือ จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของบริษัท ความบกพร่องของระบบควบคุมภายใน หรือการรายงานทางการเงิน รวมถึงการละเมิดสิทธิ การปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน ตลอดจนพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น
ตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
ตามนโยบายนี้ ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่อาจมีผลกระทบในเชิงลบ
ต่อบริษัท ดังต่อไปนี้
1.1 การกระทำที่ผิดกฎหมายหรือการไม่ปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติของนโยบายการกำกับดูแลของบริษัท จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ รวมถึงนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัท
1.2 การฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของบริษัท
1.3 การละเมิดสิทธิและการได้รับความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติงาน
1.4 รายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง ระบบการควบคุมภายในที่บกพร่อง และการจัดทำเอกสารทางการเงินที่เป็นเท็จ
1.5 การกระทำที่เป็นการขัดแย้งทางผลประโยชน์ตามนโยบายเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
1.6 การกระทำสุ่มเสี่ยงใดๆ ซึ่งรวมถึงการทุจริตต่อหน้าที่ การให้สินบน และการขู่กรรโชก
1.7 การใช้อำนาจในทางมิชอบเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดตามที่ระบุ
ในขอบเขตตามวิธีการดังต่อไปนี้
2.1 แจ้ง ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนอย่างชัดเจนรวมถึงชื่อบุคคลผู้กระทำผิด
และเหตุการณ์กระทำผิดที่เป็นข้อมูลเชื่อถือได้ มีหลักฐานเพียงพอเพื่อที่จะนำสืบหาข้อเท็จจริงต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม
ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้ หากเห็นว่าการเปิดเผยนั้นจะทำให้เกิด
ความไม่ปลอดภัย หรือเกิดความเสียหายใดๆ แต่หากมีการเปิดเผยตนเองก็จะทำให้บริษัทสามารถรายงานความคืบหน้า ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูล
ของผู้แจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนเป็นความลับเพื่อป้องกันมิให้ผู้แจ้งเบาะแสถูกละเมิดสิทธิ
2.2 ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร หากพบเห็นมีการกระทำผิดสามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
ผ่านช่องทางต่างๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ดังนี้
2.2.1 กรณีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นให้แจ้งโดยตรงที่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบผ่านช่องทางที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
2.2.2 กรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นให้แจ้งไปที่
ให้ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หาข้อมูลเบื้องต้นรายงานผู้บริหารเพื่อประสานงานดำเนินการแก้ไข แล้วแจ้งต่อประธานคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทราบ
3.1 เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน ผู้รับเรื่องร้องเรียนของบริษัทจะดำเนินการตอบกลับผู้แจ้งเบาะแสหรือ
ผู้ร้องเรียน ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
3.2 บริษัทและบริษัทย่อยจะมอบหมายให้แผนกตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อร้องเรียนที่ได้รับจากผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน ในกรณีตรวจสอบแล้วพบว่า
มีมูลความจริง ฝ่ายตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบจะนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณารับทราบ และให้แนวทางในการดำเนินการ หรือเพื่อให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ระยะเวลาในการดำเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเรื่องที่ร้องเรียน ความเพียงพอของเอกสาร หลักฐานที่ได้รับจากผู้ร้องเรียน และคำชี้แจงของผู้ถูกร้องเรียน โดยระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 30 วันทำการ
3.3 ภายหลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเสนอแนะแนวทาง
ในการดำเนินการแก่คณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาสั่งการและกำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไข และพิจารณากำหนดบทลงโทษต่อไป กรณีจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเสนอเรื่องต่อประธานคณะกรรมการบริหาร เพื่อขออนุมัติการขยายระยะเวลา โดยการอนุมัติ
ขยายระยะเวลาดังกล่าวมิให้เกินครั้งละ 30 วันทำการ
3.4 บริษัทจะรายงานการดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส หรือเร็วกว่าที่กำหนด ในกรณี
ที่ข้อร้องเรียนอาจก่อผลกระทบสูง
ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนด้วยเจตนาที่สุจริตจะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากบริษัทตามมาตรการ ดังนี้
4.1 ผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง บริษัทจะไม่เปิดเผย ชื่อ สกุล ที่อยู่ และข้อมูลอื่นใดที่สามารถระบุตัวผู้แจ้งได้
4.2 บริษัทและบริษัทย่อยจะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับและจะเปิดเผยเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และความเสียหายของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แหล่งที่มา ของข้อมูล หรือบุคคลเกี่ยวข้อง
4.3 กรณีผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าตนอาจไม่ได้รับความปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย สามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้แจ้งเบาะแส หรือ ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเดือดร้อนเสียหาย หรือความไม่ปลอดภัย
4.4 บริษัทจะไม่กระทำการใดอันไม่เป็นธรรมต่อผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนไม่ว่าโดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน พักงาน ข่มขู่ การเลือกปฏิบัติ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง หรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
4.5 หากผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยวิธีการหรือกระบวนการที่เหมาะสม โปร่งใส และเป็นธรรม
หากบริษัทพบว่าการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน หรือการให้ถ้อยคำหรือข้อมูลใดๆ ที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาไม่สุจริต เป็นเท็จ และตั้งใจให้เกิดความเสียหาย ในกรณีเป็นกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท จะได้รับโทษทางวินัยตามข้อบังคับของบริษัทและพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมาย หากเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งการกระทำนั้นทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ทางบริษัทจะพิจารณาดำเนินคดีทางกฎหมายกับบุคคลนั้นด้วย
นโยบายที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนจะได้รับการทบทวนและประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของนโยบายเป็นประจำทุกปี
นโยบายการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนฉบับนี้ ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป เมื่อบริษัทแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน)
BANGKOK LAB AND COSMETIC PUBLIC COMPANY LIMITED
เลขที่ 48/1 หมู่ 5 ถนนหนองแช่เสา ตำบลน้ำพุ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000 โทรศัพท์ : 032-719900
แฟกซ์ : 032-719917
Copyright ® 2021 Bangkok Lab and Cosmetic Public Company Limited. All rights reserved
LINE